โดย พิสิฐ ทางธนกุล
ประธานกรรมการบริหารและหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย
25 มิถุนายน 2567
เราทราบกันดีว่าในโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารต่างต้องการให้องค์กรของตนสามารถปรับตัวและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็นจริง บริษัทส่วนมากยังคงมีอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวาง ซึ่งเป็นเหมือน ‘แรงเสียดทาน’ ที่ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ได้เร็วเท่าที่ต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการสื่อสารผ่านทางอีเมล กระบวนการจัดซื้อ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ขึ้นอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือการตัดสินใจลงทุนต่าง ๆ
ข้อมูลจากรายงานผลสำรวจ 27th Annual Global CEO Survey ของ PwC ระบุว่า 40% ของซีอีโอทั่วโลกใช้เวลาไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การส่งอีเมล การประชุม และกระบวนการบริหารจัดการอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนั่นหมายถึงการสูญเสียด้านต้นทุน ทรัพยากร รวมทั้งเวลาที่สามารถนำไปใช้วางแผนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือปรับโมเดลธุรกิจใหม่ให้มีคุณค่ามากกว่าเดิม
ทั้งนี้ รายงานของ PwC ยังชี้ให้เห็นว่า บริษัทที่จัดการกับแรงเสียดทานต่าง ๆ ภายในองค์กรได้ดีกว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับองค์กรมากขึ้น โดยบทความ ‘From sludge to success: The road to business renewal starts when CEOs step in to reduce organizational friction’ ได้นำเสนอ 3 แนวทางสำหรับผู้บริหาร เพื่อจัดการกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่ขัดขวางการเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วขององค์กรดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ ในบางครั้งแรงเสียดทานในกระบวนการทำงานก็ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันการตัดสินใจที่เร่งรีบจนเกินไปหรือการกระทำโดยประมาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมด้านสุขภาพหรือด้านการเงินที่มีกระบวนการและข้อกำหนดที่เคร่งครัดจนอาจดูเหมือนเป็นสิ่งกีดขวาง แต่ก็จำเป็นต้องมี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติตามข้อกฎหมายและจริยธรรม รวมทั้งปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคและรักษาเสถียรภาพของระบบโดยรวม แต่สิ่งสำคัญมากที่สุดคือ ผู้นำองค์กรจะต้องแยกให้ออกระหว่างแรงเสียดทานที่ควรต้องมีกับสิ่งกีดขวางการทำงานอย่างแท้จริง นอกจากนี้ จะต้องมีความกระตือรือร้นในการลดหรือกำจัดความไม่มีประสิทธิภาพเหล่านั้น เพื่อเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับอนาคต
หมายเหตุ: บทความนี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ทาง The Standard Wealth
Marketing and Communications
Bangkok, PwC Thailand
Tel: +66 (0) 2844 1000, Ext. 4713-15, 18, 22-24, 26, 28 and 29