ในประวัติศาสตร์แทบจะไม่เคยมีผู้นำธุรกิจที่ต้องรับมือกับความท้าทายเท่าที่มีในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยแต่ละความท้าทายมีความซับซ้อนไม่ซ้ำกันและเพิ่มพูนมากขึ้น อีกทั้งผู้นำยังต้องตอบสนองต่อความท้าทายทั้งหมดเหล่านี้ในคราวเดียว
ซีอีโอและทีมผู้นำองค์กรจะต้องเป็นนักการทูตเพื่อจัดการกับปัญหาภูมิเศรษฐกิจและการแบ่งขั้ว เป็นผู้จัดการภาวะวิกฤตเพื่อระงับความไม่พอใจของลูกค้าเมื่อการหยุดชะงักของอุปทานจำกัดความพร้อมของสินค้า และเป็นผู้ที่รักษาบุคลากรผู้มีความสามารถ อีกทั้งเป็นผู้ที่มีจิตสำนึกต่อสังคมในการมองการตัดสินใจผ่านเลนส์ ESG เป็นผู้มีความรู้ทางดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่สามารถยอมรับความเสี่ยงสำหรับการสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจใหม่
การมุ่งเน้นไปที่ความยืดหยุ่นและความสามารถในการทำกำไรในระยะสั้นอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ธุรกิจจึงจำเป็นเปลี่ยนแปลงเพื่ออยู่รอดและเติบโต
โชคดีที่แม้ว่าจะมีความวุ่นวายทั่วโลก แต่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็สามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ ในทศวรรษหน้า 70% ของการเติบโตทั่วโลกจะมาจากเอเชียแปซิฟิก ภูมิภาคนี้คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายผู้บริโภครวมสูงสุดภายในปี 2573 และเป็นที่ตั้งของตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุด
ทั้งนี้ มีคำถามพื้นฐานสามประการที่ธุรกิจควรต้องพิจารณาเมื่อปรับตำแหน่งห่วงโซ่อุปทานเพื่อการเติบโต ได้แก่
Playback of this video is not currently available
ความวุ่นวายทั่วโลกที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องมีแต่ทำให้วิกฤตห่วงโซ่อุปทานในช่วงปีโควิดรุนแรงขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันสำหรับซัพพลายเออร์ สถานที่ตั้ง และผู้มีความสามารถรายใหม่ เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กรมากขึ้น แต่ถึงแม้จะมีความท้าทายเหล่านี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโต ธุรกิจที่สร้างความแตกต่างเพื่อชนะการแข่งขันครั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและ ESG เพื่อประโยชน์ของตนจะช่วยให้เห็นความสำเร็จในอนาคตที่มั่นคง ค้นพบขั้นตอนเชิงปฏิบัติที่ซีอีโอสามารถนำไปปรับสมดุลใหม่เพื่อการเติบโต