การปกป้องมนุษย์และความเจริญรุ่งเรือง

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสินค้าโภคภัณฑ์จำเป็น

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อสินค้าโภคภัณฑ์จำเป็น
  • Report
  • 10 minute read
  • 11 Dec 2024

โลกพึ่งพาการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์จากกลุ่มสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Economic Cooperation: APEC) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้

เขตเศรษฐกิจ APEC ซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย จีน เปรู ชิลี และแคนาดา เป็นผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์อันดับหนึ่งของโลก เช่น ลิเธียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี และบ็อกไซต์ (ใช้ในการผลิตอะลูมิเนียม)

ในรายงานนี้ ค้นพบว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดเร็วยิ่งขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ของเขตเศรษฐกิจ APEC และส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลก

เศรษฐกิจโลกพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญของ APEC

เขตเศรษฐกิจ APEC ซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย จีน เปรู ชิลี และแคนาดา เป็นผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหกประเภทอันดับต้น ๆ ของโลกในการศึกษาของเรา

ในกรณีของลิเทียม ทองแดง และสังกะสี ผู้ผลิตสามอันดับแรกของโลกก็ล้วนมาจากเขตเศรษฐกิจ APEC

 

เขตเศรษฐกิจ APEC เป็นผู้นำในการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์จำเป็นหกประเภท

สัดส่วนการผลิตทั่วโลก (ปี 2563)
 

ออสเตรเลีย* 

แคนาดา* 

ชิลี* 

จีน* 

เปรู* 

บราซิล 

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 

กินี 

อื่น ๆ


*กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEC)
ที่มา: CapIQ, FAO, PwC analysis

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร?

แม้ในสถานการณ์ที่ดีที่สุดที่โลกกำลังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ยังคงทำให้เกิดความเครียดจากความร้อนและภัยแล้งบ่อยและรุนแรงมากขึ้น

สภาวะเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญ โดยความเครียดจากความร้อนทำให้การทำงานกลางแจ้งมีความยากลำบาก และภัยแล้งนั้นก็อาจส่งผลต่อการทำเหมืองที่ต้องอาศัยน้ำปริมาณมาก

การผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลงแม้เพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลไปยังห่วงโซ่อุปทาน และมีผลต่อราคาและความพร้อมจำหน่าย

ผู้นำธุรกิจจึงต้องตระหนักถึงภัยคุกคามที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศต่อแหล่งผลิตสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญและปกป้องการดำเนินงานของตนอย่างต่อเนื่อง

รายงานของเราได้ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากความเครียดจากความร้อนและภัยแล้งต่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ในเจ็ดเศรษฐกิจ APEC ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ชิลี เปรู แคนาดา สหรัฐอเมริกา และเม็กซิโก

ข้อค้นพบและนัยสำคัญต่อธุรกิจ

  • เหมืองทองแดงในชิลีและเปรู ซึ่งเป็นผู้ผลิตทองแดงอันดับหนึ่งและอันดับสองของโลก ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยแล้งที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าโลกกำลังลดการปล่อยคาร์บอนลงอย่างมากก็ตาม ในสถานการณ์นี้ การผลิตทองแดงของเปรู 41% จะเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยแล้งอย่างรุนแรงภายในปี 2593 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 0% ในปัจจุบัน ในทำนองเดียวกัน ความเสี่ยงจากภัยแล้งต่อการผลิตทองแดงของชิลีก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่าภายในปี 2593
  • เหมืองลิเธียมในออสเตรเลียและจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตลิเธียมอันดับหนึ่งและอันดับสามของโลก ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยแล้งที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้ว่าการปล่อยคาร์บอนจะลดลงอย่างรวดเร็วก็ตาม การผลิตลิเธียมของออสเตรเลีย 68% และในจีน 70% จะเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยแล้งอย่างรุนแรงภายในปี 2593 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 0% ในทั้งสองประเทศในปัจจุบัน
  • ออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตเหล็กและบ็อกไซต์รายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตสังกะสีและโคบอลต์อันดับสองของโลก การผลิตสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ของออสเตรเลียต้องเผชิญกับภาวะแห้งแล้ง ความเครียดจากความร้อน หรือทั้งสองอย่างที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวอย่าง เช่น ในสถานการณ์การปล่อยคาร์บอนในระดับสูงในปี 2593 การผลิตบ็อกไซต์ของออสเตรเลีย 46% จะต้องเผชิญกับความร้อนและความชื้นในระดับที่เป็นอันตรายต่อแรงงานที่ทำงานกลางแจ้ง (จากที่ไม่มีความเสี่ยงเลยในปัจจุบัน)
  • การลดการปล่อยคาร์บอนในอนาคตจะไม่สามารถปกป้องธุรกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างสมบูรณ์ แม้ในสถานการณ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนในระดับต่ำ สินค้าโภคภัณฑ์หลายประเภทจะยังคงเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความเครียดจากความร้อนและภัยแล้ง ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปพร้อมกับความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอนเพื่อป้องกันไม่ให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงยิ่งขึ้น
  • ความเสี่ยงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากที่อยู่ในระดับต่ำ เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ผู้นำธุรกิจจะต้องเตรียมพร้อมรับมือ ซึ่งในบางกรณี ผู้นำธุรกิจอาจมีประสบการณ์ในการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ไม่เพียงพอ
  • สามขั้นตอนที่ผู้นำธุรกิจควรปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากภาวะหยุดชะงัก ขั้นตอนแรก เสริมสร้างความยืดหยุ่นโดยการระบุและจัดการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศตลอดห่วงโซ่อุปทาน ขั้นตอนที่สอง ใช้ประโยชน์จากโอกาสในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ หรือรูปแบบธุรกิจที่ช่วยให้บริษัทและชุมชนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และขั้นตอนสุดท้าย ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตั้งแต่รัฐบาลไปจนถึงชุมชนเพื่อกำหนดผลลัพธ์ร่วมกันและเพิ่มการปรับตัวในระดับนโยบายและระบบ ทั้งนี้ เราได้นำเสนอข้อมูลตัวอย่างและกรณีศึกษาไว้ในบท ‘การดำเนินการเร่งด่วนสำหรับธุรกิจ’

อ่านรายงาน APEC

Protecting People & Prosperity

Climate risks to APEC commodity production

Contact us

Marketing and Communications

Bangkok, PwC Thailand

Tel: +66 (0) 2844 1000, Ext. 4713-15, 18, 22-24, 26, 28 and 29

Follow us