รายงานผลสำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2567 ฉบับประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ทุกหนทุกแห่ง และพนักงานต่างก็รู้สึกได้

รายงานผลสำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2567 ฉบับประเทศไทย
  • Insight
  • 10 minute read
  • 27 Sep 2024

รายงานผลสำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2567 ฉบับประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ทุกหนทุกแห่ง และพนักงานต่างก็รู้สึกได้

ท่ามกลางภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ยังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย ทั้งนี้ ซีอีโอในประเทศไทยต่างพยายามเร่งดำเนินการพลิกโฉมองค์กรของตนเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว ในขณะเดียวกัน กำลังแรงงานไทยก็แสดงความรู้สึกทั้งตื่นเต้นและกังวลกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน

แรงงานไทยมากถึง 90% รู้สึกพร้อมที่จะปรับตัวเข้ากับวิธีการทำงานใหม่ ๆ และเติบโตในหน้าที่การงานของตน (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 75%) ในขณะที่มากกว่าครึ่ง (62%) เชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกันมากเกินไป (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 59%) แม้ว่าแรงงานไทยพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่พวกเขาก็รู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้พวกเขามีความกังวลเพิ่มขึ้น โดย 79% เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงานในปีที่ผ่านมามากกว่าในช่วง 12 เดือนก่อนหน้า (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 68%)

รายงานผลสำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2567 ฉบับประเทศไทย ของ PwC จะนำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับความรู้สึก ความท้าทาย และความคาดหวังของแรงงานไทย โดยรวบรวมความคิดเห็นของแรงงานไทยจำนวนทั้งสิ้น 1,000 ราย และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์และทัศนคติของแรงงานไทยเหล่านี้ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ประเด็นสำคัญ

%

ต้องเรียนรู้เทคโนโลยี/เครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับการทำงาน (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 48%) และ 60% กล่าวว่าปริมาณงานของพวกเขาเพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 46%)

%

แสดงความพึงพอใจในงานของตน (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 62%) หรือลดลง 14% จากความพึงพอใจในงานของปีที่แล้วที่ 79%

%

คาดหวังว่า GenAI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 68%) ซึ่งสูงกว่าผลสำรวจของปีที่แล้วอย่างมีนัยสำคัญที่ 47%

%

กังวลว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน (เทียบกับเอเชียแปซิฟิกที่ 51%)

สรุปประเด็นสำคัญสำหรับผู้นำธุรกิจไทย

  1. เป็น ‘ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้น

  2. ตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงานในเชิงรุก นายจ้างควรต้องมีวิธีการในการรักษาและดึงดูดบุคลากรผู้มีความสามารถด้วยการตอบสนองต่อความคาดหวังของพนักงาน

  3. มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะของพนักงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

  4. การนำปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (generative AI: GenAI) มาใช้เริ่มต้นจากผู้นำ โดยควรปลูกฝังแนวทางการใช้ GenAI ที่มนุษย์เป็นผู้นำและมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้งาน GenAI อย่างรับผิดชอบ

  5. รับฟังข้อกังวลของพนักงานที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากจะช่วยให้ผู้นำธุรกิจสามารถดำเนินโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมได้

เกี่ยวกับรายงานผลสำรวจความหวังและความกังวลของกำลังแรงงานทั่วโลก ประจำปี 2567

ในเดือนมีนาคม 2567 PwC ได้สำรวจความคิดเห็นของบุคลากรจำนวนทั้งสิ้น 56,600 คน ซึ่งรวมถึงกำลังแรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวน 19,500 คน (โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยจำนวน 1,000 คน) ที่ทำงานหรืออยู่ในตลาดแรงงาน ทั้งนี้ การสำรวจนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของแรงงานเกี่ยวกับความรู้สึก การนำ AI มาใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาทักษะต่าง ๆ

Contact us

Dr Pirata Phakdeesattayaphong
Dr Pirata Phakdeesattayaphong

Consulting Partner, PwC Thailand

Consulting Partner, PwC Thailand

Contact us

Marketing and Communications

Bangkok, PwC Thailand

Tel: +66 (0) 2844 1000, Ext. 4713-15, 18, 22-24, 26, 28 and 29

Follow us